อุบัติการณ์ดาวดิน กับประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ภายใต้ คสช.
Fri, 2015-07-03 00:43
ก่อนหน้าที่เราจะเป็นสักขีพยาน วันยึดอำนาจรัฐประหาร วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 สังคมไทยรู้จัก “นักศึกษากลุ่มดาวดิน” เพียง กลุ่มนักศึกษาเล็กๆ ที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เหมืองทองคำ ในจังหวัดเลย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ล่วงเลยจากวันยึดอำนาจรัฐประหารมานานนับปี ก่อนการอุบัติขึ้นของแรงกระเพื่อมไหวครั้งใหญ่ของการเมืองภายหลังรัฐประหาร การปรากฎตัวของกลุ่มนักศึกษาดาวดิน และนักเคลื่อนไหวบางคน ที่มารวมกลุ่มกันนั่งจ้องนาฬิกาที่ลานหน้าหอศิลป์ฯ ในคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ครบรอบ 1 ปี การรัฐประหารและบริหารประเทศของคสช. จวบจนนำไปสู่การเข้าสลายการชุมนุม และยื่นฟ้องเหล่านักศึกษา 14 คนอย่างลับๆ ผ่านเอกสารที่ส่งไปตามบ้าน และวันที่ 24 มิถุนายน 2558 กลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ต่อต้าน คสช. ซึ่งแน่นอน พวกเขาถูกจับกุมในเวลาต่อมา ด้วยหมายจับจากศาลทหาร ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ห้ามมิให้ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และห้ามต่อต้าน คสช. และทางกลุ่มนักศึกษาไม่ขอยื่นประกันตัว
อุบัติการณ์ครั้งนี้คงผิดจากความคาดหมายของหน่วยงานความมั่นคงพอสมควร เพราะ “ไฟ” ถูกจุดติดขึ้นมา ภายหลังการจับกุมดำเนินคดีกับเหล่านักศึกษา และ การออกมากล่าวหาว่า การเคลื่อนไหวของ 14 นักศึกษานั้น “มีเบื้องหลังไม่บริสุทธิ์” และ “มีกลุ่มการเมืองอยู่เบื้องหลัง” รวมถึงกระแสต้านจากสังคมออนไลน์ที่กล่าวหาว่าพวกเขา “ถูกจ้างมา” ซึ่งผิดคาด เพราะเกิดกระแสสนับสนุนเหล่านักศึกษาขึ้นมาสวนกระแสดังกล่าวจากทั้งในและนอก ประเทศ และมีท่าทีว่าจะไม่หยุดลงโดยง่าย ซึ่งเป็นกระแสเรียกร้องต่อรองกับรัฐบาล คสช.ให้ปล่อยตัว 14 นักศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข การล่ารายชื่อ โดยจากทั้งคณาจารย์ นักวิชาการ นักคิดนักเขียนมากมาย นักศึกษากลุ่มอื่น แม้กระทั่งองค์กรระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป และ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ร่วมออกแถลงการณ์กดดัน คสช. จนเกิด “แรงกระเพื่อมไหว” ครั้งใหญ่
ใหญ่จน พล.อ.ประยุทธ์ ขอใช้สิทธิ์ “เลี่ยงไม่ตอบคำถามต่อสื่อมวลชน” ในวันที่ 29 มิถุนายนก่อนเดินทางไปประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ และอาจจะนับเป็นครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ใช้สิทธิ์นี้ นับจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา
ใหญ่จนคนมีตำแหน่งสูงๆ ในรัฐบาล พากันออกมาประสานเสียงว่า “รู้ตัวคนอยู่เบื้องหลังกลุ่มนักศึกษา” และ “เตรียมเล่นงานคนอยู่เบื้องหลังนักศึกษา” หลังจากตรรกะวาทกรรม “ไม่เห็นด้วยกับ คสช.คือต้องการความไม่สงบ” ใช้ไม่ได้ผลนัก แต่นั่นก็ไม่อาจกลบแรงกระเพื่อมไหวครั้งนี้ได้
จนกระทั่ง อนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ต้องออกมาตั้งคำถามต่อสังคมว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มนี้นั้น “สร้างประโยชน์อะไรให้แก่ประเทศบ้าง” เพราะขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าปฏิรูปเพื่อลูกหลานคนไทยทั้งประเทศ
สิ่งนี้ย้อนไปถึง คำกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่พูดบ่อยครั้งตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ที่พูดว่า คสช.จะนำ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มาสู่ประชาชน และ ตัวท่านคือทหารประชาธิปไตย
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสากลนั้น ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะต่อรองกับรัฐ ทั้งเรื่องกฎหมายที่เป็นไม่ธรรม การร้องเรียนสิ่งที่ประชาชนต้องการ การตีฆ้องร้องป่าวต่อความไม่เป็นธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเอ่ยปากต่อต้านรัฐบาล ดั่งเช่นที่ม๊อบทั้งหลายทำมานับ 10 ปีที่ผ่านมา ที่ใช้การต่อรองแบบ รวมกลุ่มเป็นมวลชนเพื่อสร้างพื้นที่ต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ซึ่งนับเป็น “เสียง” ที่ดังที่สุดของประชาชนเท่าที่ระบอบการเมืองการปกครองจะมอบให้ได้
แต่นับตั้งแต่ กฎอัยการศึกออกมาบังคับใช้ จนถึง คำสั่ง คสช. ออกมาประกาศใช้ พื้นที่ต่อรองของประชาชนก็หายไป “เสียง” ถูกกลบหายด้วยอำนาจมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว และคำสั่งคสช. คือตัวแทนอันเป็นรูปธรรมของภาวะ “ห้ามเถียง” “ห้ามคัดค้าน” “ห้ามต่อต้าน” ที่ คสช.ใช้กับประชาชน ซึ่งไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนเขาทำกัน ไม่เคยมีการรัฐประหารครั้งใดเหมือนครั้งนี้ แม้ในมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่เขียนรองรับถึงสิทธิพลเมืองที่ต้องได้รับการ คุ้มครองก็ไร้ความหมาย อาจเพราะคำสั่งคสช. อยู่เหนือรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้ระบุถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน คือสิทธิเสรีภาพที่จะพูดหรือแสดงออก หากไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การมี คำสั่งคสช. คือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพอย่างไม่ต้องสงสัย และแน่นอนว่าประเทศประชาธิปไตยโดยทั่วไปแล้ว ประชาชนมีสิทธิที่จะต่อรองกับรัฐเพื่อยกเลิกกฎหมายที่ริดลอนสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานของพลเมือง เพราะมิเช่นนั้น “กฎหมาย” จะกลายเป็นเพียง “คำสั่ง” ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่เอาไว้กดขี่พลเมืองของรัฐ
วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ดาวดินจึงร้องตะโกนอย่างเงียบสงบ ในพื้นที่การเมืองซึ่งไม่มีที่ให้เสียงใดได้เล็ดลอดออกจากความเงียบภายใต้ “คำสั่ง คสช.” ไปได้ ในพื้นที่ที่พวกเขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะเกิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ กลุ่มนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวไร้อาวุธ แค่เพียงพูดในสิ่งที่ตนเชื่อ นั่งมองนาฬิกาและชูป้ายผ้า นั้นมีความผิด
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา “นักศึกษา” คือตัวแทนของพลังบริสุทธิ์ พลังแห่งปัญญาชน จวบจนยุคสมัยของคสช. ที่ภาพของนักศึกษา ถูกวาทกรรมป้ายสีให้พวกเขากลายเป็นทาสของทุน ถูกซื้อและชักใยอยู่โดยผู้อื่น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดนั้น คือความเงียบ ที่ไม่ใช่ความสงบ แต่เป็นความเงียบสงัดที่รัฐได้ชิง “เสียง” ของประชาชนไป การเคลื่อนไหวของดาวดิน เป็นเพียงกรณีเดียว ที่สังคมได้รับรู้รับทราบผ่านการบอกเล่าของสื่อมวลชนเท่านั้น เพราะในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คำสั่ง คสช. ได้ทำให้สังคมไทยเงียบสงัดลง ไม่ว่าจะเป็นการเสวนาวิชาการที่ถูกปิดลงนับครั้งไม่ถ้วน การไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ต่างๆ นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเพราะที่ดินสปก.หรือพื้นที่ป่า การสั่งห้ามการกิจกรรมเพื่อปฏิรูปที่ดิน หรือแม้กระทั่งตามต่างจังหวัดที่คสช.เฝ้าระวัง แค่เพียงชาวบ้านนั่งรถเกิน 5 คน ก็จะมีการตั้งด่านจับเพื่อตรวจสอบ
ฉะนั้นภายใต้คำสั่ง คสช. นั้น เราไม่มีประชาธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น
และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า หลังผ่านพ้นคำสั่ง คสช.ไปแล้ว เราจะได้มันมาหรือเปล่า
Credit: http://prachatai.org/journal/2015/07/60137
Fri, 2015-07-03 00:43
ก่อนหน้าที่เราจะเป็นสักขีพยาน วันยึดอำนาจรัฐประหาร วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 สังคมไทยรู้จัก “นักศึกษากลุ่มดาวดิน” เพียง กลุ่มนักศึกษาเล็กๆ ที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เหมืองทองคำ ในจังหวัดเลย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ล่วงเลยจากวันยึดอำนาจรัฐประหารมานานนับปี ก่อนการอุบัติขึ้นของแรงกระเพื่อมไหวครั้งใหญ่ของการเมืองภายหลังรัฐประหาร การปรากฎตัวของกลุ่มนักศึกษาดาวดิน และนักเคลื่อนไหวบางคน ที่มารวมกลุ่มกันนั่งจ้องนาฬิกาที่ลานหน้าหอศิลป์ฯ ในคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ครบรอบ 1 ปี การรัฐประหารและบริหารประเทศของคสช. จวบจนนำไปสู่การเข้าสลายการชุมนุม และยื่นฟ้องเหล่านักศึกษา 14 คนอย่างลับๆ ผ่านเอกสารที่ส่งไปตามบ้าน และวันที่ 24 มิถุนายน 2558 กลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ต่อต้าน คสช. ซึ่งแน่นอน พวกเขาถูกจับกุมในเวลาต่อมา ด้วยหมายจับจากศาลทหาร ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ห้ามมิให้ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และห้ามต่อต้าน คสช. และทางกลุ่มนักศึกษาไม่ขอยื่นประกันตัว
อุบัติการณ์ครั้งนี้คงผิดจากความคาดหมายของหน่วยงานความมั่นคงพอสมควร เพราะ “ไฟ” ถูกจุดติดขึ้นมา ภายหลังการจับกุมดำเนินคดีกับเหล่านักศึกษา และ การออกมากล่าวหาว่า การเคลื่อนไหวของ 14 นักศึกษานั้น “มีเบื้องหลังไม่บริสุทธิ์” และ “มีกลุ่มการเมืองอยู่เบื้องหลัง” รวมถึงกระแสต้านจากสังคมออนไลน์ที่กล่าวหาว่าพวกเขา “ถูกจ้างมา” ซึ่งผิดคาด เพราะเกิดกระแสสนับสนุนเหล่านักศึกษาขึ้นมาสวนกระแสดังกล่าวจากทั้งในและนอก ประเทศ และมีท่าทีว่าจะไม่หยุดลงโดยง่าย ซึ่งเป็นกระแสเรียกร้องต่อรองกับรัฐบาล คสช.ให้ปล่อยตัว 14 นักศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข การล่ารายชื่อ โดยจากทั้งคณาจารย์ นักวิชาการ นักคิดนักเขียนมากมาย นักศึกษากลุ่มอื่น แม้กระทั่งองค์กรระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป และ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ร่วมออกแถลงการณ์กดดัน คสช. จนเกิด “แรงกระเพื่อมไหว” ครั้งใหญ่
ใหญ่จน พล.อ.ประยุทธ์ ขอใช้สิทธิ์ “เลี่ยงไม่ตอบคำถามต่อสื่อมวลชน” ในวันที่ 29 มิถุนายนก่อนเดินทางไปประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ และอาจจะนับเป็นครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ใช้สิทธิ์นี้ นับจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา
ใหญ่จนคนมีตำแหน่งสูงๆ ในรัฐบาล พากันออกมาประสานเสียงว่า “รู้ตัวคนอยู่เบื้องหลังกลุ่มนักศึกษา” และ “เตรียมเล่นงานคนอยู่เบื้องหลังนักศึกษา” หลังจากตรรกะวาทกรรม “ไม่เห็นด้วยกับ คสช.คือต้องการความไม่สงบ” ใช้ไม่ได้ผลนัก แต่นั่นก็ไม่อาจกลบแรงกระเพื่อมไหวครั้งนี้ได้
จนกระทั่ง อนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ต้องออกมาตั้งคำถามต่อสังคมว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มนี้นั้น “สร้างประโยชน์อะไรให้แก่ประเทศบ้าง” เพราะขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าปฏิรูปเพื่อลูกหลานคนไทยทั้งประเทศ
สิ่งนี้ย้อนไปถึง คำกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่พูดบ่อยครั้งตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ที่พูดว่า คสช.จะนำ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มาสู่ประชาชน และ ตัวท่านคือทหารประชาธิปไตย
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสากลนั้น ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะต่อรองกับรัฐ ทั้งเรื่องกฎหมายที่เป็นไม่ธรรม การร้องเรียนสิ่งที่ประชาชนต้องการ การตีฆ้องร้องป่าวต่อความไม่เป็นธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเอ่ยปากต่อต้านรัฐบาล ดั่งเช่นที่ม๊อบทั้งหลายทำมานับ 10 ปีที่ผ่านมา ที่ใช้การต่อรองแบบ รวมกลุ่มเป็นมวลชนเพื่อสร้างพื้นที่ต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ซึ่งนับเป็น “เสียง” ที่ดังที่สุดของประชาชนเท่าที่ระบอบการเมืองการปกครองจะมอบให้ได้
แต่นับตั้งแต่ กฎอัยการศึกออกมาบังคับใช้ จนถึง คำสั่ง คสช. ออกมาประกาศใช้ พื้นที่ต่อรองของประชาชนก็หายไป “เสียง” ถูกกลบหายด้วยอำนาจมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว และคำสั่งคสช. คือตัวแทนอันเป็นรูปธรรมของภาวะ “ห้ามเถียง” “ห้ามคัดค้าน” “ห้ามต่อต้าน” ที่ คสช.ใช้กับประชาชน ซึ่งไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนเขาทำกัน ไม่เคยมีการรัฐประหารครั้งใดเหมือนครั้งนี้ แม้ในมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่เขียนรองรับถึงสิทธิพลเมืองที่ต้องได้รับการ คุ้มครองก็ไร้ความหมาย อาจเพราะคำสั่งคสช. อยู่เหนือรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้ระบุถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน คือสิทธิเสรีภาพที่จะพูดหรือแสดงออก หากไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การมี คำสั่งคสช. คือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพอย่างไม่ต้องสงสัย และแน่นอนว่าประเทศประชาธิปไตยโดยทั่วไปแล้ว ประชาชนมีสิทธิที่จะต่อรองกับรัฐเพื่อยกเลิกกฎหมายที่ริดลอนสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานของพลเมือง เพราะมิเช่นนั้น “กฎหมาย” จะกลายเป็นเพียง “คำสั่ง” ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่เอาไว้กดขี่พลเมืองของรัฐ
วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ดาวดินจึงร้องตะโกนอย่างเงียบสงบ ในพื้นที่การเมืองซึ่งไม่มีที่ให้เสียงใดได้เล็ดลอดออกจากความเงียบภายใต้ “คำสั่ง คสช.” ไปได้ ในพื้นที่ที่พวกเขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะเกิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ กลุ่มนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวไร้อาวุธ แค่เพียงพูดในสิ่งที่ตนเชื่อ นั่งมองนาฬิกาและชูป้ายผ้า นั้นมีความผิด
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา “นักศึกษา” คือตัวแทนของพลังบริสุทธิ์ พลังแห่งปัญญาชน จวบจนยุคสมัยของคสช. ที่ภาพของนักศึกษา ถูกวาทกรรมป้ายสีให้พวกเขากลายเป็นทาสของทุน ถูกซื้อและชักใยอยู่โดยผู้อื่น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดนั้น คือความเงียบ ที่ไม่ใช่ความสงบ แต่เป็นความเงียบสงัดที่รัฐได้ชิง “เสียง” ของประชาชนไป การเคลื่อนไหวของดาวดิน เป็นเพียงกรณีเดียว ที่สังคมได้รับรู้รับทราบผ่านการบอกเล่าของสื่อมวลชนเท่านั้น เพราะในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คำสั่ง คสช. ได้ทำให้สังคมไทยเงียบสงัดลง ไม่ว่าจะเป็นการเสวนาวิชาการที่ถูกปิดลงนับครั้งไม่ถ้วน การไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ต่างๆ นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเพราะที่ดินสปก.หรือพื้นที่ป่า การสั่งห้ามการกิจกรรมเพื่อปฏิรูปที่ดิน หรือแม้กระทั่งตามต่างจังหวัดที่คสช.เฝ้าระวัง แค่เพียงชาวบ้านนั่งรถเกิน 5 คน ก็จะมีการตั้งด่านจับเพื่อตรวจสอบ
ฉะนั้นภายใต้คำสั่ง คสช. นั้น เราไม่มีประชาธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น
และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า หลังผ่านพ้นคำสั่ง คสช.ไปแล้ว เราจะได้มันมาหรือเปล่า
Credit: http://prachatai.org/journal/2015/07/60137
No comments:
Post a Comment